วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี
(The Translation of Literary Work)
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องการแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work) โดยอ้างอิงเนื้อหาจาก อาจารย์ปฐมา อักษรจรุง ซึ่งงานเขียนดังกล่าวเป็นงานเขียนประเภทวิชาการและสารคดี มีทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบ  ซึ่งบันเทิงคดีจะมีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง และบทกวี ทั้งนี้ในการศึกษาเพื่อนำไปสู่งานแปลให้มีความสมบูรณ์ คือ องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี, องค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ องค์ประกอบด้านภาษา(language element) และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา (non-language element) ซึ่งหมายถึงอารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งองค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี
และองค์ประกอบด้านภาษา จึงเป็นงานแปลบันเทิงคดีที่สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม ภาษาที่มีความหมายแฝง (connotation) ส่วนใหญ่คำเหล่านี้จะประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตรงตามอักษร เช่น chicken หมายถึง ไก่ แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย และภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดี เช่นโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปลักษณ์
โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบสองประเภทคือการเปรียบเทียบคำนามกับคำนาม และเปรียบเทียบคำกริยากับกริยา ในการแปลต้นฉบับต้องมีองค์ประกอบทางไวยากรณ์ชัดเจนและมีการยึดหลักไวยากรณ์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในการแปลที่เป็นการเปรียบเทียบเสมือนการสมมุติในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ แต่ในภาษาไทยไม่ว่าโวหารอุปมาอุปไมยจะเป็นสมมติหรือไม่ โครงสร้างของภาษาก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นในการเขียนงานแปลประเภทบันเทิงคดี เราจะต้องคำนึงถึงด้านอารมณ์และท่วงทำนองที่จะสะท้อนออกมาในองค์ประกอบของภาษา และยังต้องคำนึงถึงโวหารภาพพจน์ สำหรับการเรียนและฝึกแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้นก่อน โดยที่ผู้เรียนจะต้องรู้จักและทำความคุ้นเคยกับโวหารภาพพจน์ดังกล่าว โดยเฉพาะโวหารอุปมาอุปไมยซึ่งเป็นโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏบ่อย แล้วจะทำให้เราเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และสามารถแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และมีอรรถรสยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้