รูปแบบกระบวนการแปล (Model of the Translation Process )
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องกระบวนการแปล
(Process of Translating)
โดยอ้างอิงเนื้อหาจาก อาจารย์สรรฉวี
สายบัว
ซึ่งกระบวนการแปลดังกล่าวมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการแปล
จากการเรียนรู้ได้ความว่างานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางสาสนา เช่น คัมภีร์ต่างๆ
และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวยงาม ดังเช่น งานแปลของเชคสเปียร์
จะเห็นได้ว่างานแปลในยุคโบราณนั้น
เป็นงานของชนชั้นสูงและเป็นผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
ในยุคต่อมาจึงมีความต้องการงานแปลในด้านต่างๆมากขึ้น
ทำให้มีการคิดค้นวิธีการที่จะทำงานแปลที่มีคุณภาพ ได้แก่ 2 รูปแบบคือ
รูปแบบของ Roger T. Bell และรูปแบบของ Daniel Gile
รูปแบบกระบวนการแปลของ
Roger T. Bell เป็นการสร้างแผนผังกระบวนการที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล
อันเป็นกระบวนการแปลที่เกิดภายในระบบความคิด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 2
ขั้นตอนคือ 1. Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับ
ออกมาเป็นความหมายที่ยังไม่เป็นภาษา โดยแยกออกมาเป็นโครงสร้าง
ในขั้นนี้จะเข้าใจโครงสร้างมากกว่าเนื้อหา แล้วจึงวิเคราะห์เนื้อหา การใช้ภาษา เมื่อผ่านการวิเคราะห์ทั้งสามแล้ว
จะได้เป็นเนื้อหาที่นำมาวิเคราะห์เป็นความหมายในอนุประโยคในขั้นถัดไป
และ 2. Synthesis เป็นการสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
จะทำให้เนื้อหาเกิดความสละสลวยมากกว่าเดิม นับว่าเป็นขั้นตอนการสังเคราะห์ในการสร้างข้อความที่ถ่ายทอดความหมายทั้งหมดหรือบางส่วนของต้นฉบับ
ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมายและส่งไปยังระบบการเขียนงานแปล เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปลให้มีความหมายที่มีความเหมาะสม
และตรงกับบริบทของต้นฉบับทั้งหมด
รูปแบบกระบวนการแปลของ
Daniel Gile เป็นรูปแบบที่อธิบายกระบวนการในการดำเนินการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล
เพื่อใช้ในการฝึกฝนงานแปลให้แก่ผู้สนใจและนักศึกษาที่จะสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ในขั้นแรกผู้แปลจะต้องอ่านต้นฉบับนี้ทีละบท
ซึ่งเป็นการแบ่งข้อความออกเป็นอนุประโยคเดี่ยวๆ เป็นคำเดียว
หรือเป็นประโยคทั้งประโยคหรือยาวกว่าหนึ่งประโยค
เมื่อเข้าใจและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ก็จะทำกระบวนการเดิมใหม่ซ้ำๆจนจบข้อความ
ทั้งรูปแบบกระบวนการแปลของ
Roger T. Bellและรูปแบบกระบวนการแปลของ
Daniel Gile
ล้วนให้ความรู้ในกระบวนการแปลที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมาก
จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี
ซึ่งสามารถสะท้อนผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือการฝึกฝนงานแปลเรื่องกระเช้าสีดา
ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
และงานดังกล่าวก่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม ไปยังงานเป็นคู่
และการทำงานเดี่ยว
ก่อให้เกิดการรับผิดชอบในภาระงานและเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวนักศึกษาที่สามารถนำความรู้ที่ได้
ไปประยุกต์ใช้ต่อไปให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น