วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text types

Text types
                รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน อาทิ เพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น เพื่อจินตนาการ               เล่าเรื่อง เพื่อความบันเทิงหรือสนุกสนาน เพื่อบรรยาย โน้มน้าวหรือชักจูง ขอร้อง สืบสอบหรือตั้งคำถาม หรือเพื่อทำความกระจ่างในความคิด แต่ละงานเขียนย่อมมีความแตกต่างแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกชอบและติดตามในงานเขียนนั้น ประเภทงานเขียนได้แก่ การเขียนบรรยาย การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนเล่าเหตุการณ์ การเขียนอภิปราย การเขียนอธิบาย การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ การเขียนรายงานสารสนเทศ การเขียนอธิบาย การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง

                การเขียนบรรยาย (Description) เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร  ที่ไหน เมื่อไร  ดูเป็นอย่งไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้น  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง ได้แก่ ใคร/อะไร เมื่อไร  ที่ไหน ตอนรายละเอียด เป็นการบรรยายคุณลักษณะบุคคล หรือสิ่งของ และตอนสรุป เป็นการสรุปใจความสำคัญ ต่อไปคือ การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึง ต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน  มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น การเขียนแบ่งออกเป็น 4 ตอน
                ได้แก่ ตอนที่เป็นการเกริ่น กล่าวถึง ฉากและตัวละคร ซึ่งจะรวม การกล่าวถึง ใครหรืออะไร  ที่ไหน และ เมื่อไรตอนที่กล่าวถึงความยุ่งยาก เป็นการกล่าวถึงความยากลำบากหรือปัญหา ที่ทำให้การดำรงชีวิตหรือความสะดวกสบายของตัวละครเกิดความยุ่งยากขึ้น และก่อให้เกิดลำดับของเหตุการณ์ที่น่าสนใจตามมา และลำดับเหตุการณ์ ซึ่งอาจประกอบด้วย การบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลำดับเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นกับตัวละครแต่ละตัว การผสมผสานของลำดับ การแก้ปัญหา เป็นการกล่าวถึงผลสุดท้ายของเหตุการณ์ ซึ่งเป็นชุดที่ปัญหาได้รับการแก้ไข
               
                การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ ที่ผ่านมา เรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ เป็นการกำหนดฉาก โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน และทำไม เหตุการณ์ กล่าวถึง อะไรที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา ได้แก่ แรกสุด ต่อมา ในไม่ช้า ระหว่าง ภายหลัง ต่อมาภายหลัง ในที่สุด สิ่งสุดท้ายรวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตกาล และตอนสรุป (Conclusion) เป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร หรือตัดสินอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัว จึงใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
                การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาหรือหัวข้อเรื่องว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน อาจแนะนำกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่คัดค้าน ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่ม ที่สนับสนุนและคัดค้าน จะประกอบด้วยกลุ่มที่สนับสนุน และกลุ่มที่คัดค้าน สุดท้ายตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด การเขียนมีการใช้คำนาม สรรพนาม และคำที่เชื่อมถึงเหตุผลที่แสดงถึงปัจจุบันกาลหรืออดีตกาล ลักษณะการเขียนต้องเป็นปรนัยที่ยุติธรรม ใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือที่สาม
                การเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง เรียงความเกี่ยวกับวิธีการ เป็นข้อเขียนที่บอกผู้อ่านถึงวิธีการทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียงความที่เป็นสารสนเทศ เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผล ถัดไปคือการเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (Procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ เป้าประสงค์ เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึง การบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องการใช้ เป็นการกล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ
                การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศ โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ กล่าวถึงนิยามหรือการจัดประเภท หรือคำบรรยายสั้นๆ และตอนบรรยาย กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นย่อหน้าๆไป อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ สถานที่ และสุดท้ายคือตอนสรุป เป็นการเขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
                การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่องบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น และสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
                สุดท้ายการเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง (Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน รายละเอียด เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร การตอบสนอง และการสรุป
                ดังนั้นในการเขียนรูปแบบการเขียนประเภทต่างๆ สามารถนำรูปแบบนั้นไปเขียนให้เหมาะสมแต่ละบริบท ในการเขียนบรรยายเรื่อง การเขียนจดหมาย ข่าว โฆษณา ใบปลิว หรือแม้แต่งานเขียนการสัมภาษณ์ต่างๆ รวมไปถึงการเขียนอีเมล์ แฟกซ์ และกลอน ซึ่งจุดประสงค์ในการเขียนที่กล่าวข้างต้นมีข้อที่เหมือนกันและต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการ ของผู้เขียน และเมื่อกำหนดจุดประสงค์ในการเขียนแล้ว ก็เท่ากับได้กำหนดรูปแบบการเขียนด้วย  และในการเขียนดังกล่าวนั้นควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ในการเขียนด้วย เพราะบางประเภทมีการบรรยายตามความจริง สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง มีการสอดแทรกอารมณ์หรือความรู้สึกลงไปในงานเขียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้