วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร
ในการเรียนรู้หลักการถ่ายทอดตัวอักษร โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์สัญฉวี สายยัง ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาที่ควรรู้เพื่อนำไปสู่การแปลต่อไป เพราะถ้าหากเราไม่สามารถถ่ายทอดคำศัพท์ออกมาเป็นอักษร เราก็จะไม่สามารถเทียบเคียงอักษรในการแปลงานแปลนั้นๆได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการถ่ายทอดตัวอักษรในที่นี้คือการนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนอีกภาษาหนึ่งโดยเขียนเป็นภาษาใหม่ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด
การถ่ายทอดตัวอักษรจะเกิดขึ้นเมื่อต้นฉบับมีคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่นชื่อคน ชื่อสถานที่ แม่น้ำ หรือสถาบันต่างๆ และเมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาที่จะแปล จึงไม่มีคำเทียบเคียง เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์และกิจกรรมบางอย่าง ความคิดบางอย่างอาจมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทย เนื่องจากคำเหล่านี้ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ ในกรณีดังกล่าว ผู้แปลสามารถใช้วิธีให้คำนาม หรือคำอธิบายบอกลักษณ์ หรืการใช้คำทับศัพท์
อาทิ คำว่า football ซึ่งเมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดยการให้คำนิยามว่าเป็นลูกกลมๆทำด้วยหนัง หรือในกรณีใช้คำทับศัพท์ว่า ฟุตบอล ในการแปลดังนี้ เราจึงควรคำนึงถึงหลักการปฎิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำ ประการแรกคือ การให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียงอะไรบ้าง แล้วจึงเลือกตัวอักษรในภาษาฉบับแปลมาเทียบเคียงแทนเสียงนั้น ประการที่สองเมื่อภาษาทุกภาษามีเสียงพยัญชนะและสระตรงกันเป็นส่วนมาก จึงสามารถหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลย
เสียงบางประเภทอาจจะไม่มีใช้ในอีกภาษาหนึ่ง หรือมีการเทียบเคียงกันไม่ได้ เช่นเสียงหนักเบา จะมีในคำภาษาอังกฤษซึ่งไม่มีในภาษาไทย หรือเสียงวรรณยุกต์จะมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ประการที่สาม เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วจะใช้ตัวนั้นตลอดไป อย่าเปลี่ยนไปมา และประการที่สี่ สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาฉบับแปล ถ้าเกิดคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมในต้นฉบับไว้ด้วย
สำหรับการถ่ายทอดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ควรคำนึงถึงบทบาทหรือหลักการในการเทียบเคียงตัวอักษรหรือเสียงให้ถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่เรามักจะเจอคำทับศัพท์ เช่น ชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ ชื่อคน ชื่อสถานที่ แม่น้ำ หรือสถาบันต่างๆยังมีการเทียบเคียงเสียงที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ในการฝึกฝนการเทียบเคียงอักษรหรือเสียง เราสามารถฝึกจากการเขียนทับศัพท์ชื่อบุคคลสำคัญ หรือชื่อเพื่อน ชื่อสถานที่สำคัญ หากมีการฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอเราจะสามารถถ่ายทอดอักษรออกมาได้ โดยไม่ต้องใช้ตารางมาดูในการเทียบเคียงอักษร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้