หลักการแปลวรรณกรรม
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องหลักการแปลวรรณกรรม
ซึ่งเป็นงานเขียนจัดอยู่ในประเภทบันเทิงคดี ได้แก่ งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน
นิยาย บทละคร การ์ตูน บทเพลง
เป็นวรรณคดีที่มุ่งที่จะให้ได้รับความบันเทิงเพลิดเพลิน และการแปลเพื่อการรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้อง
ไม่เปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับ รักษารสของความหมายเดิมให้เป็นรสเดียวกัน เช่น รสรัก
เศร้าโศก ขมขื่น เบื่อหน่าย หรืออ่อนโยน เป็นต้น
การรักษาความหมายเดิมกับการรักษารสของความหมายเดิม เป็นหัวใจของการแปลงานบันเทิงคดี
ดังนั้นผู้แปลต้องใช้หลักการแปลที่มีความละเอียดลึกซึ้ง อันได้แก่หลักการแปลนวนิยาย
บทละครบทภาพยนตร์ นิทานนิยาย การ์ตูน และกวีนิพนธ์
หลักการแปลนวนิยายโดยเริ่มจากการแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม
ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก มี 4 แบบ คือ ไม่แปล แปลตรงตัว
แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน หรือตั้งชื่อใหม่
และเริ่มแปลบทสนทนาหรือถ้อยคำตอบโต้ของตัวละคร เช่น คำทักทาย คำอำลา คำแสลง
เสร็จจึงแปลบทบรรยาย จะพบว่าความยุ่งยากเกิดจากภาสองประเภทคือ
ภาษาในสังคมและภาษาวรรณคดี ในการแปลควรคำนึงถึงขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม
คืออ่านเรื่องราวให้เข้าใจสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้
แล้ววิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน และลงมือแปลภาษาไทยด้วยคำสำนวนที่ง่ายๆ
อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจน
หลักการแปลบทละครมีวิธีการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้น
นวนิยาย นิทาน นิยาย คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ
หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม
ในการแปลบทละครต้องอ่านต้นฉบับหลายๆครั้ง อ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจ
ตรวจสอบความเข้าใจด้วยการตั้งคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
อ่านรั้งต่อไปเพื่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโยใช้พจนานุกรมช่วยในการค้นคว้าหาคำศัพท์และหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
หลักการแปลบทภาพยนตร์
เมื่อจะนำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การนำบทแปลไปพากย์
หรืออัดเสียงในฟิล์มผู้ฟังจะได้ยินเสยงพูดภาษาไทย
และการนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิมซึ่งผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดง
และมีคำแปลควบคู่ไปด้วยพร้อมๆกัน บทภาพยนตร์ มีลักษณะเหมือนบทละคร
คือประกอบไปด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่ แต่มีผู้แสดงที่หลากหลายกว่า
แต่ละคนจะแสดงบทบาทการใช้คำพูดตามนิสัย และเน้นย้ำให้ชัดเจน
บทแปลดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดง และพูดตามเปลี่ยนฉากที่รวดเร็ว
หลักการแปลนิทาน นิยายเรื่องเล่าโดยเริ่มจากการอ่านต้นฉบับนิทาน
อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง
แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่อง
และการเขียนบทแปลโดยการใช้วิธีเขียนแบบเก่าและหลักการแปลเรื่องเล่าสั้นๆ
ซึ่งจะแฝงอารมณ์ขัน ผู้อ่านมักจะ
ใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัด ถ้ามีความกำกวมก็เป็นเพราะผู้เขียนจูงใจ เพราะความกำกวมสร้างอารมณ์ขันได้
เรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครจำนวนราวประมาณ 1-2 ตัว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะระชั้นชิดแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้กระชับความในตอนจบ
มักจะเป็นปมอารมณ์ขันที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง
หลักการแปลการ์ตูน
คือการใช้คำแปลที่สั้น ชัดเจนเข้าใจได้ หรือสามารถสื่อความหมายได้
สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำพูดได้
ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกต
และความระมัดระวังให้การใช้ภาษาแปลที่มีความสอดคล้องกัน
วิธีการแปลการ์ตูนมีการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจก่อน
แล้วค่อยเขียนบทแปลต่อไป
และสุดท้ายหลักการแปลกวีนิพนธ์
ซึ่งจะเป็นบทร้อยกรองมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยมีลักษณะคือการแปลเป็นร้อยกรอง
เพื่อให้เนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา
นอกจากจะแปลเนื้อหาสาระแล้วยังรักษาวิธีนำเสนอที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับที่สุดโดยมีการยึดฉันทลักษณ์เป็นหลัก
พยายามมีการเล่นคำ เล่นความหมายตามต้นฉบับทุกจังหวะ ทุกบททุกตอนและการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต
ซึ่งจะใช้เพื่อแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วเพื่อสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆ
หลักการแปลที่สำคัญที่สุดคือการแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะ
บทบาทของผู้พูด
และยังสอดคล้องกับระดับภาษาที่ใช้ในโอกาสนั้นรักษาความหมายโดยนัยไว้ให้ครบถ้วน
สมบูรณ์ในทุกบริบท อย่าพะว้าพะวงกับการแปลคำต่อคำ
เพราะจะทำให้ภาษาดูแข็งๆไม่เป็นธรรมชาติ
ดังนั้นก่อนเขียนงานแปลเราควรศึกษาหลักการให้เด่นชัด
เพื่อให้งานแปลออกมาดูเป็นธรรมชาติและสมบูรณ์มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น