วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Romeo&Julies by English01


Maleficent by English02


หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นการถอดโดยวิธีการถ่ายเสียง  เพื่อให้การอ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้ใกล้เคียง โดยไม่มีการคำนึงถึงการสะกดการันต์ และวรรณยุกต์ ในการเขียนปัจจุบันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ยังมีการเขียนในแบบผิดกันอย่างล้นหลาม ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากสิ่งใกล้ๆตัวเรา คือวิธีการถอดเสียง เขียนชื่อของตนเองหรือชื่อของบุคคลทั่วไป ในบทเรียนดังกล่าวจะประกอบไปด้วยเรื่องการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ  ความหมายของคำ  การใช้เครื่องหมาย “-”  เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้อักษรตัวใหญ่ การถอดชื่อภูมิศาสตร์และการถอดคำทับศัพท์

รูปแบบกระบวนการแปล

รูปแบบกระบวนการแปล (Model of the Translation Process )
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องกระบวนการแปล (Process of Translating) โดยอ้างอิงเนื้อหาจาก อาจารย์สรรฉวี  สายบัว ซึ่งกระบวนการแปลดังกล่าวมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการแปล จากการเรียนรู้ได้ความว่างานแปลในยุคโบราณเป็นการแปลทางสาสนา เช่น คัมภีร์ต่างๆ และการแปลวรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวยงาม ดังเช่น งานแปลของเชคสเปียร์ จะเห็นได้ว่างานแปลในยุคโบราณนั้น เป็นงานของชนชั้นสูงและเป็นผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ในยุคต่อมาจึงมีความต้องการงานแปลในด้านต่างๆมากขึ้น ทำให้มีการคิดค้นวิธีการที่จะทำงานแปลที่มีคุณภาพ ได้แก่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบของ Roger T. Bell และรูปแบบของ Daniel Gile
รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell เป็นการสร้างแผนผังกระบวนการที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล อันเป็นกระบวนการแปลที่เกิดภายในระบบความคิด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ 1. Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับ ออกมาเป็นความหมายที่ยังไม่เป็นภาษา โดยแยกออกมาเป็นโครงสร้าง ในขั้นนี้จะเข้าใจโครงสร้างมากกว่าเนื้อหา แล้วจึงวิเคราะห์เนื้อหา การใช้ภาษา  เมื่อผ่านการวิเคราะห์ทั้งสามแล้ว จะได้เป็นเนื้อหาที่นำมาวิเคราะห์เป็นความหมายในอนุประโยคในขั้นถัดไป
 และ 2. Synthesis เป็นการสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล จะทำให้เนื้อหาเกิดความสละสลวยมากกว่าเดิม นับว่าเป็นขั้นตอนการสังเคราะห์ในการสร้างข้อความที่ถ่ายทอดความหมายทั้งหมดหรือบางส่วนของต้นฉบับ ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมายและส่งไปยังระบบการเขียนงานแปล  เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปลให้มีความหมายที่มีความเหมาะสม และตรงกับบริบทของต้นฉบับทั้งหมด
รูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile เป็นรูปแบบที่อธิบายกระบวนการในการดำเนินการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล เพื่อใช้ในการฝึกฝนงานแปลให้แก่ผู้สนใจและนักศึกษาที่จะสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ในขั้นแรกผู้แปลจะต้องอ่านต้นฉบับนี้ทีละบท ซึ่งเป็นการแบ่งข้อความออกเป็นอนุประโยคเดี่ยวๆ เป็นคำเดียว หรือเป็นประโยคทั้งประโยคหรือยาวกว่าหนึ่งประโยค เมื่อเข้าใจและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ก็จะทำกระบวนการเดิมใหม่ซ้ำๆจนจบข้อความ
ทั้งรูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bellและรูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile ล้วนให้ความรู้ในกระบวนการแปลที่ไม่ค่อยแตกต่างกันมาก จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถสะท้อนผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือการฝึกฝนงานแปลเรื่องกระเช้าสีดา ซึ่งทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และงานดังกล่าวก่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม ไปยังงานเป็นคู่ และการทำงานเดี่ยว ก่อให้เกิดการรับผิดชอบในภาระงานและเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวนักศึกษาที่สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ต่อไปให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด



ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์ สิทธา พินิจภูวดล ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้ถ่ายทอดเรื่องการเขียนบทแปลที่ดี การใช้ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนทั่วไปใช้กันจริง  และต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อ่าน และผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล ซึ่งจะมีองค์ประกอบย่อยของการแปลคือ คำความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
องค์ประกอบแรกคือคำและความหมาย ซึ่งคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่าง มีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่นในสมัยก่อนๆมีความหมายอย่างหนึ่งในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ตรงกันข้ามกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งก็มีความหมายในทางลบไปอีก เช่น กู ไพร่ ในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นได้

The Passive

The Passive

ถ้าพูดถึงประโยค (Sentence)  เรามักจะให้คำนิยามว่าเป็นข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย  ในการสร้างประโยคนั้น นักศึกษาควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนว่า ใคร ทำอะไร หรือในการฝึกฝนเขียนประโยคนั้นเราควรเริ่มจากการ ฝึกประโยคสั้นๆ กระชับอาจไม่จำเป็นต้องมีส่วนขยายก่อน เช่น เขา เดิน เขา เป็นประธาน เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม หรือเรา กิน มันฝรั่ง เรา เป็นประธาน กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense) ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น แต่จะอยู่ในรูป tense ใดนั้น ก็ต้องมีเวลาที่บ่งชี้อย่างชัดเจน เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice)
เช่น มะม่วง ถูกกิน มะม่วง เป็นประธาน ถูกกิน เป็นกริยา ประธานของประโยคคือ มะม่วง ไม่ได้ทำกริยา กิน แต่ในทางตรงกันข้าม ประธานกลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ หรือประโยค จดหมาย ถูกอ่าน เมื่อวานนี้ จดหมาย เป็นประธาน ถูกอ่าน เป็นกริยา (Past Tense) ในทำนองเดียวกันกับประโยคแรก จดหมายซึ่งเป็นประธานของประโยคไม่ได้ เป็นผู้อ่าน แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกอ่านโดยประธาน ทั้ง 2 ประโยคหลังนี้ มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า กรรมวาจก (Passive Voice)
วิธีการแปลประโยค passive ให้เป็นภาษาไทย สำหรับโครงสร้างแบบ Passive Voice จะแปลว่า ถูกกระทำ เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งแปลว่า ได้รับการกระทำนั้น ดูจะเหมาะกว่า เช่น He was punished by his teacher a few days ago. เขาถูกลงโทษ โดยครูของเขาเมื่อ 2 - 3 วันก่อน หรือ บทความถูกอ่าน โดยนักเรียนส่วนใหญ่ แหวนวงที่มีราคามากที่สุดถูกขโมย ไป ไม่ต้องระบุผู้กระทำเพราะเราไม่รู้แน่ชัด วิธีเปลี่ยนประโยค active ให้เป็นประโยค passive ใน tense และ กริยาช่วย Modalต่างๆ ประธานจะเป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำ และจะระบุผู้กระทำ (by someone) หรือไม่ก็ตาม โครงสร้างแบบ Passive Voice ก็ต้องระบุกาลเวลาของกริยา (tense) ด้วยเหมือนกับในประโยคภาษาอังกฤษทั่ว ๆ ไป รูปของ Active Voice คือ S + V และรูปของ Passive Voice คือ S + V to be + V.3 ในการใช้ประโยค Passive สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการที่นักศึกษาสามารถท่องจำกริยาช่องที่ 3 ได้
เมื่อนักศึกษารู้หลักการกระจาย Verb to be ไปตาม Tense ต่างๆ จึงเกิดผลให้เวลาจะใช้ประโยคภาษาอังกฤษ นักเรียนควรถามตนเองซ้ำหลายๆครั้งก่อนว่าประธานในประโยคเป็นผู้กระทำ หรือเป็นผู้ถูกกระทำกันแน่ เมื่อยืนยันกับตนเองได้ว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำอย่างแน่นอน จึงค่อยผูกประโยคตามขั้นตอนดังกล่าวต่อไป เพื่อให้การแปลประโยค Passive มีความหมายที่เหมาะสม และถูกต้องตามต้นฉบับ ดังนั้นนักศึกษาควรให้ความสำคัญในการท่องจำกริยาช่องที่ 3 เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการสร้างประโยคต่อไป



หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องหลักการแปลวรรณกรรม ซึ่งเป็นงานเขียนจัดอยู่ในประเภทบันเทิงคดี ได้แก่ งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทเพลง เป็นวรรณคดีที่มุ่งที่จะให้ได้รับความบันเทิงเพลิดเพลิน และการแปลเพื่อการรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้อง ไม่เปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับ รักษารสของความหมายเดิมให้เป็นรสเดียวกัน เช่น รสรัก เศร้าโศก ขมขื่น เบื่อหน่าย หรืออ่อนโยน เป็นต้น การรักษาความหมายเดิมกับการรักษารสของความหมายเดิม เป็นหัวใจของการแปลงานบันเทิงคดี ดังนั้นผู้แปลต้องใช้หลักการแปลที่มีความละเอียดลึกซึ้ง อันได้แก่หลักการแปลนวนิยาย บทละครบทภาพยนตร์ นิทานนิยาย การ์ตูน และกวีนิพนธ์
หลักการแปลนวนิยายโดยเริ่มจากการแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก  มี 4 แบบ คือ ไม่แปล แปลตรงตัว แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน หรือตั้งชื่อใหม่ และเริ่มแปลบทสนทนาหรือถ้อยคำตอบโต้ของตัวละคร เช่น คำทักทาย คำอำลา คำแสลง เสร็จจึงแปลบทบรรยาย จะพบว่าความยุ่งยากเกิดจากภาสองประเภทคือ ภาษาในสังคมและภาษาวรรณคดี ในการแปลควรคำนึงถึงขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม คืออ่านเรื่องราวให้เข้าใจสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้ แล้ววิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน และลงมือแปลภาษาไทยด้วยคำสำนวนที่ง่ายๆ อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจน
หลักการแปลบทละครมีวิธีการแปลเช่นเดียวกับการแปลเรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน นิยาย คือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม ในการแปลบทละครต้องอ่านต้นฉบับหลายๆครั้ง อ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจ ตรวจสอบความเข้าใจด้วยการตั้งคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร อ่านรั้งต่อไปเพื่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโยใช้พจนานุกรมช่วยในการค้นคว้าหาคำศัพท์และหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
หลักการแปลบทภาพยนตร์ เมื่อจะนำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การนำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์มผู้ฟังจะได้ยินเสยงพูดภาษาไทย และการนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิมซึ่งผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดง และมีคำแปลควบคู่ไปด้วยพร้อมๆกัน บทภาพยนตร์ มีลักษณะเหมือนบทละคร คือประกอบไปด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่ แต่มีผู้แสดงที่หลากหลายกว่า แต่ละคนจะแสดงบทบาทการใช้คำพูดตามนิสัย และเน้นย้ำให้ชัดเจน บทแปลดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดง และพูดตามเปลี่ยนฉากที่รวดเร็ว
 หลักการแปลนิทาน  นิยายเรื่องเล่าโดยเริ่มจากการอ่านต้นฉบับนิทาน อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่อง  และการเขียนบทแปลโดยการใช้วิธีเขียนแบบเก่าและหลักการแปลเรื่องเล่าสั้นๆ ซึ่งจะแฝงอารมณ์ขัน ผู้อ่านมักจะ  ใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัด ถ้ามีความกำกวมก็เป็นเพราะผู้เขียนจูงใจ  เพราะความกำกวมสร้างอารมณ์ขันได้ เรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครจำนวนราวประมาณ 1-2 ตัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะระชั้นชิดแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้กระชับความในตอนจบ มักจะเป็นปมอารมณ์ขันที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง
หลักการแปลการ์ตูน คือการใช้คำแปลที่สั้น ชัดเจนเข้าใจได้ หรือสามารถสื่อความหมายได้ สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำพูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกต และความระมัดระวังให้การใช้ภาษาแปลที่มีความสอดคล้องกัน วิธีการแปลการ์ตูนมีการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่าคือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจก่อน แล้วค่อยเขียนบทแปลต่อไป
และสุดท้ายหลักการแปลกวีนิพนธ์ ซึ่งจะเป็นบทร้อยกรองมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยมีลักษณะคือการแปลเป็นร้อยกรอง เพื่อให้เนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา  นอกจากจะแปลเนื้อหาสาระแล้วยังรักษาวิธีนำเสนอที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับที่สุดโดยมีการยึดฉันทลักษณ์เป็นหลัก พยายามมีการเล่นคำ เล่นความหมายตามต้นฉบับทุกจังหวะ ทุกบททุกตอนและการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต ซึ่งจะใช้เพื่อแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วเพื่อสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆ
หลักการแปลที่สำคัญที่สุดคือการแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะ บทบาทของผู้พูด และยังสอดคล้องกับระดับภาษาที่ใช้ในโอกาสนั้นรักษาความหมายโดยนัยไว้ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ในทุกบริบท อย่าพะว้าพะวงกับการแปลคำต่อคำ เพราะจะทำให้ภาษาดูแข็งๆไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นก่อนเขียนงานแปลเราควรศึกษาหลักการให้เด่นชัด เพื่อให้งานแปลออกมาดูเป็นธรรมชาติและสมบูรณ์มากที่สุด



Text types

Text types
                รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน อาทิ เพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น เพื่อจินตนาการ               เล่าเรื่อง เพื่อความบันเทิงหรือสนุกสนาน เพื่อบรรยาย โน้มน้าวหรือชักจูง ขอร้อง สืบสอบหรือตั้งคำถาม หรือเพื่อทำความกระจ่างในความคิด แต่ละงานเขียนย่อมมีความแตกต่างแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกชอบและติดตามในงานเขียนนั้น ประเภทงานเขียนได้แก่ การเขียนบรรยาย การเขียนเล่าเรื่อง การเขียนเล่าเหตุการณ์ การเขียนอภิปราย การเขียนอธิบาย การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ การเขียนรายงานสารสนเทศ การเขียนอธิบาย การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง

การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร
ในการเรียนรู้หลักการถ่ายทอดตัวอักษร โดยอ้างอิงเนื้อหาจากอาจารย์สัญฉวี สายยัง ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาที่ควรรู้เพื่อนำไปสู่การแปลต่อไป เพราะถ้าหากเราไม่สามารถถ่ายทอดคำศัพท์ออกมาเป็นอักษร เราก็จะไม่สามารถเทียบเคียงอักษรในการแปลงานแปลนั้นๆได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการถ่ายทอดตัวอักษรในที่นี้คือการนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนอีกภาษาหนึ่งโดยเขียนเป็นภาษาใหม่ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด
การถ่ายทอดตัวอักษรจะเกิดขึ้นเมื่อต้นฉบับมีคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่นชื่อคน ชื่อสถานที่ แม่น้ำ หรือสถาบันต่างๆ และเมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาที่จะแปล จึงไม่มีคำเทียบเคียง เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์และกิจกรรมบางอย่าง ความคิดบางอย่างอาจมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทย เนื่องจากคำเหล่านี้ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ ในกรณีดังกล่าว ผู้แปลสามารถใช้วิธีให้คำนาม หรือคำอธิบายบอกลักษณ์ หรืการใช้คำทับศัพท์
อาทิ คำว่า football ซึ่งเมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดยการให้คำนิยามว่าเป็นลูกกลมๆทำด้วยหนัง หรือในกรณีใช้คำทับศัพท์ว่า ฟุตบอล ในการแปลดังนี้ เราจึงควรคำนึงถึงหลักการปฎิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำ ประการแรกคือ การให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียงอะไรบ้าง แล้วจึงเลือกตัวอักษรในภาษาฉบับแปลมาเทียบเคียงแทนเสียงนั้น ประการที่สองเมื่อภาษาทุกภาษามีเสียงพยัญชนะและสระตรงกันเป็นส่วนมาก จึงสามารถหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลย
เสียงบางประเภทอาจจะไม่มีใช้ในอีกภาษาหนึ่ง หรือมีการเทียบเคียงกันไม่ได้ เช่นเสียงหนักเบา จะมีในคำภาษาอังกฤษซึ่งไม่มีในภาษาไทย หรือเสียงวรรณยุกต์จะมีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ประการที่สาม เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วจะใช้ตัวนั้นตลอดไป อย่าเปลี่ยนไปมา และประการที่สี่ สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาฉบับแปล ถ้าเกิดคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมในต้นฉบับไว้ด้วย
สำหรับการถ่ายทอดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ควรคำนึงถึงบทบาทหรือหลักการในการเทียบเคียงตัวอักษรหรือเสียงให้ถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่เรามักจะเจอคำทับศัพท์ เช่น ชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ ชื่อคน ชื่อสถานที่ แม่น้ำ หรือสถาบันต่างๆยังมีการเทียบเคียงเสียงที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ในการฝึกฝนการเทียบเคียงอักษรหรือเสียง เราสามารถฝึกจากการเขียนทับศัพท์ชื่อบุคคลสำคัญ หรือชื่อเพื่อน ชื่อสถานที่สำคัญ หากมีการฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอเราจะสามารถถ่ายทอดอักษรออกมาได้ โดยไม่ต้องใช้ตารางมาดูในการเทียบเคียงอักษร



โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
จากการศึกษาในชั้นเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เนื้อหาเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานของประโยค ซึ่งเนื้อหาดังกล่าว ล้วนเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างประโยคให้ดูกระชับและถูกต้อง หากเราไม่เข้าใจในเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  หรือไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบของประโยคแต่ละแบบได้  ก็จะส่งผลให้งานแปลเกิดความความลำบากและมีเนื้อหาที่ไม่กระชับ ถูกต้องและสมบูรณ์เพียงพอ   ความครบถ้วนและความหมายที่ถูกต้องของต้นฉบับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการสร้างรูปแบบประโยค ตีความหมายของต้นฉบับ  และวิเคราะห์ความหมายก่อนถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการแปล โดยศึกษาจากโครงสร้างแบบของคำกริยาของฮอร์นบี
ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน  The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ  โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า แบบของคำกริยา (verb pattern) จะสังเกตเห็นว่าในการเขียนโครงสร้างแต่ละประโยคนั้น จะประกอบด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และในส่วนเติมเต็มในแต่ละแบบนั้นจะแตกต่างกันออกไป ในแบบที่หนึ่งและสอง มักจะเจอบ่อย เพราะเป็นประโยคที่มีส่วนเติมเต็มเป็นกรรมตรง(Direct object)
 และแบบที่สองเป็นประโยคที่เติม to ซึ่งต้องตามด้วย กริยาช่องที่ 1 เสมอ (infinitive with to)  ส่วนรูปแบบที่สี่ถึงหก จะมีการเขียนโครงสร้างแต่ละประโยคนั้น จะประกอบด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และในส่วนเติมเต็มเป็น คำนามหรือสรรพนาม แต่ในรูปแบบที่เจ็ดจะเป็นการใช้โครงสร้างที่ต่างกันออกไปคือ Object+ verb+ object+ adjective ความแตกต่างที่เด่นชัดคือการใช้รูปแบบของประโยค passive voice คือการนำประโยคที่กล่าวถึงผู้ถูกกระทำ มาทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค สำหรับรูปแบบอื่นๆที่ศึกษาเป็นการใช้รูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกัน บ้างก็ไม่สับซ้อนจนเกินไปจึงทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้เร็วขึ้น
การแปลภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง ถ้าผู้แปลมีความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอทั้งสองภาษา การตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่คิดในใจ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญและคล่องแคล่วมากเท่าไร การแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะเป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้เรามีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำประโยคไปเรียบเรียงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่งผลให้งานแปลมีประสิทธิผลต่อไป


การแปลบันเทิงคดี

การแปลบันเทิงคดี
(The Translation of Literary Work)
การเรียนรู้ในห้องเรียนเรื่องการแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work) โดยอ้างอิงเนื้อหาจาก อาจารย์ปฐมา อักษรจรุง ซึ่งงานเขียนดังกล่าวเป็นงานเขียนประเภทวิชาการและสารคดี มีทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบ  ซึ่งบันเทิงคดีจะมีหลายรูปแบบได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง และบทกวี ทั้งนี้ในการศึกษาเพื่อนำไปสู่งานแปลให้มีความสมบูรณ์ คือ องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี, องค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ องค์ประกอบด้านภาษา(language element) และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา (non-language element) ซึ่งหมายถึงอารมณ์และท่วงทำนองของงาน ซึ่งองค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี
และองค์ประกอบด้านภาษา จึงเป็นงานแปลบันเทิงคดีที่สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม ภาษาที่มีความหมายแฝง (connotation) ส่วนใหญ่คำเหล่านี้จะประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตรงตามอักษร เช่น chicken หมายถึง ไก่ แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย และภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดี เช่นโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปลักษณ์

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้