Learning log 2
(ในห้องเรียน และนอกห้อง)
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เกิดประสิทธิภาพ
ต้องไม่จำกัดวงแคบอยู่แต่ในเฉพาะห้องเรียน
การเรียนการสอนจะต้องเสริมการศึกษานอกห้องเรียนด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกทักษะการใช้ภาษาต่างๆเพิ่มเติมให้มากที่สุด
ตามความสนใจ ความสามารถและความต้องการของผู้เรียน
การใช้ภาษาอังกฤษสามารถนำไปพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้หลากหลายด้านทั้งการพูด (speaking)
การฟัง(listening) การอ่าน(reading)
และการเขียน (writing) รวมทั้งทักษะการแปล
ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป และก่อนที่เราจะแปลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง
ชัดเจนเราควรศึกษาและคำนึงถึงสิ่งสำคัญที่เราควรรู้คือ กลยุทธิ์ในการเรียนภาษา และยิ่งไปกว่านั้นเราต้องรู้จักตนเอง
โดยตั้งคำถามกับตัวเองยึดหลักการ KWL
สำหรับความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนประเด็นที่ 1 คือการเข้าใจในหลักการ
KWL ก่อนที่เราจะเรียนรู้
มีหลักเกณฑ์ 3 อย่าง ที่ควรศึกษาและตั้งคำถามตนเองก่อน คือ 1.
What you know? 2. What you want to know? 3.What you have learn? หากเราสามารถตอบตนเองได้ว่า
ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง เราต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม
และเรามีความรู้อะไรบ้างมากน้อย แค่ไหน
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การประเมินตนเอง (metacognition)
ประเมินว่าเราควรค้นคว้าเรื่องใดเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังไม่รู้ไม่เข้าใจ
ประเด็นที่ 2 คือการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอนที่ได้สอนเรามาตลอดระยะเวลา
2 ปีที่ผ่านมา
เพื่อเป็นการสะท้อนการนึกคิดของนักศึกษาที่มีต่อผู้สอนและรู้จักคิด วิเคราะห์
และเสนอความคิดเห็นของตนเองโดยการเรียบเรียงคำพูดที่เหมาะสมผ่านความคิดเห็นส่วนตน
โดยสรุปทัศนคติเชิงบวกที่นักศึกษามีต่อผู้สอน 2
ท่านจากผู้สอนทั้งหมด 5 ท่าน เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่ารูปแบบการสอนของอาจารย์ทั้งสองท่านทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่า
เข้าใจกว่า และได้เสริมทักษะการใช้ชีวิตอีกด้วย
ซึ่งการนำเสนอความคิดดังกล่าวทำให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็น
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและอาจารย์ก็สามารถประเมินความรู้
ความนึกคิด ของนักศึกษาได้
เพื่อใช้ในการวางแผนการเตรียมสอนในหลักสูตรการเรียนวิชาการแปล
ประเด็นสุดท้ายในการเรียนรู้ในชั้นเรียน คือ การสื่อสาร (communication) การสื่อสารมี 2 แบบ คือ one way
communication และ two way communication 1. One way
communication หมายถึง การสื่อสารทางเดียว
ซึ่งป็นการสื่อสารที่ผู้รับไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ส่งในสิ่อกลางเดียวกันได้
ผู้ส่งเป็นฝ่ายส่งข่าวเพียงอย่างเดียว ซึ่งเรียกว่า Simplex และ
2. Two way communication หมายถึงการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับข่าวสาร
สามารถโต้ตอบกันได้ในสื่อกลางเดียวกันเรียกว่า Duplex การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้รับสารตีความหรือแปลข่าวสารและเข้าใจเข้าใจความหมายข่าวสารได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้ส่งต้องการ
สำหรับความรู้ที่ได้รับจากนอกห้องเรียน คือ
กลยุทธ์ในการเรียนภาษา โดย รศ.ดร. สมศีล
ฌานวังศะ ได้กล่าวว่าการเรียนภาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่
โดยมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ ซึ่งความรู้เป็นภาคทฤษฎี
ส่วนทักษะเป็นภาคปฎิบัติ การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติ
ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย คือสามารถใช้ภาษาได้ กลยุทธ์ในการเรียนมีองค์ประกอบ 10 ประการ 1.ศึกษา โดยมี 2 ด้านคือศัพท์กับไวยากรณ์ เพื่อใช้สื่อความหมายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและมีความรู้
อีก 2 ด้าน คือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติภาษา
และความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 2.ฝึกฝน การจะฝึกทักษะภาษาให้ได้ผล
อินทรีย์ หลายทางควบคุมกัน คือ ตา-ดู ครอบคลุมทั้งการอ่าน การดู และการสังเกต หู-ฟัง การฟังเสียงในการบรรยาย โทรทัศน์ วิทยุ วีดีทัศน์ และสื่อมัลติมิเดียต่างๆ ปาก-พูด การออกเสียง หรือการพูดสนทนา การกล่าวสุนทรพจน์ มือเขียน ได้แก่การเขียน
การใช้พิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ รวมไปถึง
หัวคิดเป็นสมรรถนะด้านปัญญาในการคิดพิจารณา ใจรักเป็นสมรรถนะทางจิตใจ 3. สังเกต ต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต มีความละเอียด
รอบคอบในการใช้ภาษาทั้งการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ 4. จดจำ เป็นการบันทึกอักษร ควบคู่กับการท่องปากเปล่า
สิ่งที่จดจำไว้ยังสามารถใช้ตรวจสอบ หรืออ้างอิงในภายหลัง 5. เลียนแบบ
การเลียนแบบภาษาของเจ้าของภาษาโดยใช้แบบอย่างในการฝึกตามได้
และ 6. ดัดแปลง
การใช้ข้อมูลทางไวยากรณ์ในรูปของโครงสร้างกริยาหรือหลักไวยากรณ์ในการดัดแปลงถ้อยคำและโครงสร้างที่ปรากฎในประโยค
7. วิเคราะห์ การวิเคราะห์มี 3 ระดับ
คือ ระดับศัพท์ เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีประโยค ระดับถ้อยความ
เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างประโยคและความหมายระหว่างประโยค 8. ค้นคว้า การค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
โดยเฉพาะจากพจนานุกรมภาษากฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษา ซึ่งมีข้อมูลความรู้ครบครัน 9.
ใช้งานเมื่อเรียนรู้ภาษาแล้ว ก็สมควรจะใช้งานจริงในการปฎิบัติจริง
เพื่อทดสอบความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มานั้นเพียงพอหรือไม่ 10. ปรับปรุง
ผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อบกพร่องไม่ว่าจะทางศัพท์ สำนวน
ไวยากรณ์ วิธีรออกเสียง หรือด้านอื่นๆเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน
วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่เพื่อวัดการพัฒนาในการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ
การศึกษาทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ล้วนมีความสำคัญต่อนักศึกษาเพื่อใช้พัมนาการใช้ภาษาอังกฤษในทักษะต่างๆไม่ว่าจะเป็นการ
พูด ฟัง อ่าน เขียน หรือ ในเรื่องอื่นๆ ได้แก่ คำศัพท์ ไวยากรณ์ การออกเสียง ยิ่งกว่านั้นคือ
การคิดวิเคราะห์ การประเมินตนเอง ซึ่งทำให้นักศึกษาได้ทราบถึงข้อบกพร่องอีกด้วย
ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมายที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะการแปลให้ดียิ่งขึ้น
โดยสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากที่ได้ศึกษากลยุทธ์ในการเรียนภาษามาปรับใช้ควบคู่กับการเรียนต่อไปได้อย่างเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น