วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 4 ในห้องเรียน

Learning log 4
(ในห้องเรียน)

จากการศึกษาในชั้นเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เนื้อหาทั้งหมด 3 ประเด็นหลักคือ ชนิดของประโยค, หลักการใช้ Adjective Clause(Relative Clause) และการเปลี่ยนประโยคจาก adjective clause เป็น adjective phrase ซึ่งเนื้อหาทั้งสามประเด็น ล้วนเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแปลประโยคให้ดูกระชับและถูกต้อง หากเราไม่เข้าใจในเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบของประโยคแต่ละแบบได้ ก็จะส่งผลให้งานแปลเกิดความความลำบากและมีเนื้อหาที่ไม่กระชับ ถูกต้องและสมบูรณ์เพียงพอ  ความครบถ้วนและความหมายที่ถูกต้องของต้นฉบับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการตีความหมายของต้นฉบับ และวิเคราะห์ความหมายก่อนถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการแปล
ประเด็นที่หนึ่งคือ ชนิดของประโยค หลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง ประโยคความเดียว (Simple sentence )  คือประโยคที่ประกอบด้วยภาคประธานและกริยาอย่างละตัว ซึ่งถือเป็นประโยคพื้นฐานในการเขียนภาษาอังกฤษ จะต้องมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ เป็นประโยคสั้นๆ ประกอบไปด้วยคำเพียงสองคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน และกริยา  เช่น Larry smiled. หรืออาจจะเป็นประโยคยาวๆก็ได้แต่มีแค่กริยาหลักเพียงตัวเดียว เช่น Larry who is my elder brother smiled happily with his friends. ส่วนที่ขีดเส้นใต้นั้นคือส่วนมาขยายตัวประธานและตัวกริยา ถึงแม้จะทำให้ประโยคยาวขึ้นแต่ใจความสำคัญก็ยังมีแค่ใจความเดียว และsimple sentence อาจจะเป็นประโยคบอกเล่า คำถามหรือปฏิเสธก็ได้ เช่น Did Larry smile happily? หรือ Larry didn’t smile happily with his friends.
ชนิดที่สองคือ ประโยคความรวม (Compound sentence) ซึ่งเป็นประโยคที่มีใจความสำคัญมากกว่า 1 ใจความ หรือมีประธานและกริยามากกว่า 1 ชุด โดยทั้งสองประโยคเชื่อมด้วยคำเชื่อมหลากหลายคำ จำพวก coordinating conjunction โดยใช้ and, not only….but also, in addition, besides, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but,  nor ,in contrast ,neither nor จะใช้ในการเชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน คำว่า because และ for instance ใช้ในการเชื่อมประโยคเพื่อบอกเหตุผลหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำเชื่อมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently เป็นต้น ตัวอย่างของประโยคความรวม และเมื่อแยกประโยคทั้งสองออกจากกันจะได้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ ( Independent clause) เช่น She’s poor, but she’s a good girl. สังเกตในประโยคได้อย่างชัดเจนว่าเป็นประโยคความรวม ที่คำว่า but จะมีความหมายตรงข้ามกันระหว่างประโยคและประโยคที่สอง หรือ This morning, I went to the bank, and I had lunch with my friends.โดยสังเกตที่คำว่า and แสดงถึงการสนับสนุนและคล้อยตามของประโยค เป็นต้น  
   
ชนิดที่สามคือ ประโยคความซ้อน(Complex sentence) เป็นประโยคที่มีประธานและกริยามากกว่า 1 ชุด และเชื่อมด้วย subordinating conjunction (when, while, if, although, after, before, as, since, etc.) เมื่อแยกทั้งสองประโยคออกจากกันจะได้ประโยคหนึ่งที่มีใจความสมบูรณ์ อยู่ได้โดยอิสระ (Independent clause) และอีกประโยคหนึ่งจะมีใจความไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ (Dependent clause) ประโยคแบบหลังนี้มักจะมี subordinating conjunction นำหน้า ตัวอย่างประโยคความซ้อน เช่น  The company that we like to apply for a job is famous. The company is famous. (Independent)  หรือ The man who asked for your address is my boss. (Independent) เป็นต้น
และชนิดสุดท้ายคือ ประโยคความรวมและความซ้อน (Compound-Complex sentence) คือประโยคที่มีทั้งความรวมและความซ้อนอยู่ด้วยกัน ดังนั้นประโยคดังกล่าวจึงประกอบไปด้วยประโยคที่มีใจความสมบูรณ์อย่างน้อย 2 ประโยค และประโยคที่มีใจความไม่สมบูรณ์อีก 1 ประโยค ตัวอย่างประโยคความรวมและความซ้อน เช่น Timmy forgot his wife’s birthday, so he gave her a very wonderful gift when he finally remembered. หรือ Although I don’t like cake, I bought coffee cake from the mall, and I like it so much.
ประเด็นที่สอง คือ หลักการใช้ Adjective Clause(Relative Clause) Relative clause คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนกับ Adjective นั่นคือขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังพูดถึงอยู่ คือใครหรือ สิ่งใดกันแน่  Relative Clause จะใช้ตามหลัง Relative Pronoun (who, whom, which, that, whose) และสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ Defining Relative Clause และNon-defining Relative Clause ซึ่ง Defining Relative Clause คือข้อความที่ทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่า เป็นคนไหน สิ่งไหน ของใคร เป็นต้น หากไม่มี Defining Relative Clause มาขยาย นามที่กล่าวถึงนั้นก็จะไม่เจาะจง จะเป็นการกล่าวขึ้นมาลอย ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ไม่กระจ่าง อาจจะต้องซักถามต่อไปอีกว่า เป็นใคร สิ่งไหน หรือของใคร ตัวอย่างเช่น The man was killed. ผู้ชายถูกฆ่าจากประโยคนี้ ผู้ฟังจะไม่ทราบเลยว่าผู้ชายคนไหนที่ถูกฆ่าแต่ถ้าเพิ่ม Defining Relative Clause เข้าไปที่หลัง the man จะทำให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะทำให้ทราบว่าเป็นผู้ชายคนไหน เช่น The man who went to the party with Mary last night was killed. ผู้ชายคนที่ไปงานเลี้ยงกับ Mary เมื่อคืนนี้ถูกฆ่า
และ Non-defining Relative Clause  เป็น อนุประโยคหรือข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาไม่มีความจำเป็นแก่ใจความในประโยค เพียงแต่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้ความละเอียดมากขึ้น และต้องมีเครื่องหมาย comma ข้างหน้าและข้างหลัง clause เสมอ และต้องไม่ใช้ relative pronouns ซึ่งไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น who, whom, whose หรือ which เท่านั้น จะใช้ that ไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น Dave , who lives next door , came here yesterday.จากประโยคข้างต้น relative clause “who lives next door” ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะเอ่ยชื่อ Dave เราก็ทราบแล้วว่าคือใครดังนั้นข้อความ who lives next door จึงเพิ่มเข้ามาเพื่อให้รายละเอียดเท่านั้น เมื่อกล่าวถึง Dave ก็เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง หรือ อีกตัวอย่างคือ Amy, who lives next door , is coming to see you. จากประโยคข้างต้น relative clause “who lives next door” ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะเอ่ยชื่อ Amy เราก็ทราบแล้วว่าคือใคร ดังนั้นข้อความ who lives next door จึงเพิ่มเข้ามาเพื่อให้รายละเอียดเท่านั้น เมื่อกล่าวถึง Amy ก็เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง
ประเด็นสุดท้ายคือ การเปลี่ยนประโยคจาก Adjective Clause ให้เป็น  Adjective Phrase สามารถทำได้โดยการลดรูป คำนำหน้า who, which, และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำดังนี้ คือ Appositive Noun Phrase , Prepositional Phrase , Infinitive Phrase และParticipial Phrase กลุ่มคำแรกคือ  Appositive noun phrase  Adjective Clause ซึ่งมี who, which, และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which, และ that มี BE ออก เมื่อลดรูปจะเป็น กลุ่มคำนาม เช่น  His novel, which is entitled Behind the Picture , is very popular. เมื่อลดรูปจะเป็น  His novel, Behind the Picture , is very popular.
กลุ่มคำจำพวก  Prepositional phrase สามารถลดรูปได้หาก หลัง who, which, และ that มีคำกริยาบุพบท ถ้าตัดออกแล้วเหลือแต่บุพบทยังมีความหมายเหมือนเดิม  เช่น The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. เมื่อลดรูปได้แก่ The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil  กลุ่มคำที่สามคือ Infinitive Phrase สามารถลดรูปได้หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE+ Infinitive with to เช่น  He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday. เมื่อลดรูปเป็น He is the first person to be  blamed for the violence yesterday.
กลุ่มคำสุดท้ายคือ  Participial phrase สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle หรือหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก เหลือแต่ past participle ซึ่งเปลี่ยนเป็น (v. -ing ) เช่น The two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a week ago. สามารถลดรูปเป็น The two robbers having escaped to Cambodia were arrested a week ago. และ past participle phrase สามารถลดรูปได้หากหลัง which ,who  มีกริยาในรูป passive form (BE+ past participle ) ลดรูปโดยตัด which/who /BE เหลือแต่ past participle เช่น His father , who was sent by his company to New Zealand , developed lung cancer. สามารถลดรูปเป็น His father, sent by his company to New Zealand , developed lung cancer.

การทำ Adjective Clause ให้เป็น  Adjective Phrase สามารถทำได้โดยการลดรูป ซึ่งการที่เราลดรูปประโยค เพื่อทำให้ประโยคหรือบริบทที่เราเขียนนั้นมีความกระชับยิ่งขึ้น ไม่ยืดเยื้อจนเกินไป และเพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้ภาษา ไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อ การลดรูปนั้นไม่ได้ทำให้ความหมายบิดเบือนไปจากเดิมซึ่งจะช่วยความกระชับของเนื้อหาแต่ก็ยังคงรักษาต้นฉบับเดิมไว้ ความหมายก็ยังเหมือนเดิม ถ้าการลดรูปประโยคและสามารถทำให้ความหมายเปลี่ยนหรือผิดเพี้ยนไปจากเดิมนั้นถือว่าผิดหลักการการลดรูปประโยค
ดังนั้นการศึกษาในชั้นเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาความรู้ ทั้งหมด 3 ประเด็นหลัก คือ ชนิดของประโยค , หลักการใช้ Adjective Clause (Relative Clause) และการเปลี่ยนประโยคจาก adjective clause เป็น adjective phrase ซึ่งเนื้อหาทั้งสามประเด็น ล้วนเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแปลประโยคให้ดูกระชับและถูกต้อง สิ่งสำคัญสิ่งแรกคือเราต้องเข้าใจและสามารถแยกแยะประโยคแต่ละชนิดให้ถูกต้องได้ สามารถแปลความหมายประโยคได้อย่างเหมาะสมในบริบทนั้นๆจึงจะนำไปใช้ในการเขียนประโยค Adjective Clause ได้ และการลดรูป Adjective Clause ให้เป็น Adjective Phrase เพื่อให้ประโยคดูกระชับ น่าอ่านยิ่งขึ้นตามความหมายเดิม โดยไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยจนเกินไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้