วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 15 นอกห้องเรียน

Learning log 15

นอกห้องเรียน

การศึกษานอกห้องเรียนครั้งนี้  ดิฉันได้เข้าร่วมอบรบเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ ในวันที่สอง คือวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม 2558 ในช่วงภาคเช้า โดย  ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อ วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบไปด้วยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และกลวิธีการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน ซึ่งแนวการสอนดังกล่าวล้วนมีความสำคัญมากสำหรับบทบาทของครูและนักเรียน โดยการบรรยายในเช้านี้ดิฉันได้เรียนรู้จะประกอบด้วยประเด็นทั้งหมด 4 ประเด็น คือ ประเด็นแรกแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา ประเด็นที่สองคือแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฎิสัมพันธ์ ประเด็นที่สามแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา และประเด็นสุดท้ายคือแนวการสอนภาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา
ประเด็นแรกแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา โดยมีวิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล (The Grammar-Translation Method) เป็นการสอนที่ไม่เน้นการฟังและการพูด แต่เน้นการเรียนไวยากรณ์และการแปลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านได้และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านบทอ่านได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของคำภาษาอังกฤษและเน้นการท่องจำและความถูกต้องในการใช้ภาษา วิธีสอนแบบตรง(The Direct Method) เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียน จึงควรใช้ภาษาต่างประเทศที่เรียนนั้นตลอดเวลา และสื่อสารเรื่องราวกับในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้และฝึกเลียนเสียงได้อย่างถูกต้อง เช่น ประโยคถาม-ตอบ บทสนทนาสั้นๆ เป็นต้น วิธีการสอนแบบฟัง-พูด (The Audio-Lingual Method) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วยภาษาพูดซึ่งผู้เรียนต้องเลียนแบบเสียงสามารถฟังเข้าใจ เน้นการท่องจำบทสนทนาแล้วจึงเริ่มการฝึกอ่านและเขียน

ประเด็นที่สองคือแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฎิสัมพันธ์ โดยใช้วิธีสอนแบบเงียบ (The Silent Way) เป็นวิธีการสอนที่เนนความรู้ ความเข้าใจเน้นผู้เรียยนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนคิดเองผู้สอนจะพูดน้อยที่สุดและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูด ซึ่งผู้สอนเป็นเพียงผุ้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดความเข้าใจ อาจมีคำถามให้ผู้เรียนตอบและพูดได้มากที่สุด ให้ผู้เรียนได้คิดเองแก้ปัญหาเอง วิธีสอนตามแนวธรรมชาติ (The Natural Approach) เป็นแนวการสอนที่เลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล้ก ซึ่งเป็นการรับรู้แบบเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่มีผู้สอน มักจะยกตัวอย่างที่ใช้จริง วิธีสอนแบบชักชวน (Suggestopedia) เป็นวิธีการสอนที่โน้มน้าวให้ผุ้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนอย่างเต็มที่ โดยขจัดความกลัว ความวิตกกังวลควรให้ผุ้เรียนได้เรียนด้วยความสนุกสนานผ่อนคลายจิตใจ กล่าวคือสอนอย่างไรก้ได้ให้ผู้เรียนได้กล้าพุดมากที่สุด
วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เป็นวิธีการสอนได้แนวคิดจากงานวิจัยด้านจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีของการจำในช่วงจิตวิทยา มีความเชื่อว่าถ้าบุคคลใดได้รับการฝึกฝนบ่อยๆอย่างต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟังโดยการแสดงท่าทางให้ใช้ปฎิบัติตามคำสั่งเป็นหลักในการสอน การเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เป็นการเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น คิดและคุยกัน การสอนแบบนี้อยากให้เกิดมากที่สุดในศตวรรษที่ 21 เช่นการคิดแก้ปัญหาได้ คิดวิเคราะห์ได้ และสื่อสารได้
การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ใช้ภาระงานเป็นหลัก โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฎิบัติภาระงานนั้นให้สำเร็จ ต้องวิเคราะห์จัดประเภทจัดลำดับ และพิจารณาความยากง่ายเพื่อให้เหมาะกับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้ค้นหาและช่วยเหลือด้วยตนเองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning) เป็นการศึกษาแล้วดำเนินการศึกษาค้นคว้าภายในเวลาที่ตกลงกันไว้จนได้ผลตามจุดประสงค์ที่กำหนด เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นทั้งผู้คิด ลงมือปฎิบัติ หาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้สอนคอยแนะนำช่วยเหลือ กระตุ้น เช่น การจัดนิทรรศการ
ประเด็นที่สามแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา โดยใช้แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์เน้นที่ตัวผู้เรียน โดยผู้เรียนและผุ้สอนเลือกสถานการณ์มาจัดตามวัตถุประสงค์ของผุ้เรียน เช่นผู้เรียนที่เรียนภาษาเพื่อการท่องเที่ยว เช่น At the airport ,Buying a ticket ,Booking a hotel และแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร The Communicative Approach หรือ Communicative Language Teaching เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน จัดขั้นตอนตามกระบวนการคิด โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูดการอ่านการจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ และจดจำ แล้วนำสิ่งทีเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ ไวยกรณ์ และการออกเสียง
และประเด็นสุดท้ายคือแนวการสอนภาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา เป็นการสอนที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆมาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา กล่าวคือผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย ดังนั้นการคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะเนื้อหาที่เลือกสรรมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณาการการสอนภาษาทั้งสี่ทักษะคือการฟัง พูด อ่าน และเขียน และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถาม และกระบวนการแก้ปัญหา เป็นตัวนำกระบวนการแสวงหาความรู้และทักษะโดยไม่ยึดติดกับโครงสร้างของวิชาต่างๆและสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตจริง

ดังนั้นการศึกษาในวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม 2558 ในช่วงภาคเช้า โดย  ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อ วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ดิฉันได้รับความรู้หลากหลายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นนั้นมีเนื้อหา องค์ความรู้ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญมากซึ่งสอดคล้องแก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อได้นำความรู้เรื่องดังกล่าว ไป ประยุกต์ใช้ต่อไปในวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง เพราะจากการแสดงความคิดเห็นของคณะอาจารย์แต่ละท่านซึ่งยังไม่ได้รับความพึงพอใจมากนักสำหรับนักศึกษาฝึกสอนในแต่ละปี เพราะบางคนยังจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร บางคนไม่สามารถออกข้อสอบและทดสอบผู้เรียนให้ตรงโครงสร้างของหลักสูตร ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังมีความบกพร่องในเรื่องการจัดรูปแบบการสอนในห้องเรียน ดิฉันคิดว่าการอบรมครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้และแนวทางดีๆมากมายในการใช้ประกอบการสอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้