วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log 14 นอกห้องเรียน

Learning log 14

นอกห้องเรียน

การศึกษานอกห้องเรียน ในวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงภาคบ่าย โดย  ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อ แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นปฎิสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัยรุ่นทั่วไปมักใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ ภายใต้การใช้สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียในยุคไฮเทคนี้ จึงส่งผลกระทบให้ภาษาเกิดความผิดเพี้ยนไปจากเดิมจำนวนมาก ครูจึงเป็นผู้นำที่สำคัญคนหนึ่งที่จะสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ศิษย์ในการใช้ภาษาให้ถูกต้อง การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น ย่อมทำให้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทุกประเภทมีประสิทธิภาพและได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร สิ่งสำคัญที่สุดคือการคำนึงถึงการเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน
ปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง ทุกภาษาที่ยังใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดจากเสียงบางเสียง ความหมายของคำบางคำ รูปประโยคบางประโยค บางคำอาจเลิกใช้ มีคำใหม่และรูปประโยคแบบใหม่เกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการพูดจากันในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มักพบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ต่างๆ ถ้าผู้พูดมิได้พยายามพูดให้ชัดเจน เสียงก็อาจกลายไปได้ เช่น อย่างนี้ กลมกลืนเป็นเสียง อย่างงี้ อันหนึ่ง กร่อนเสียงเป็น อนึ่ง นานๆเข้าคำที่เปลี่ยนไปก็ติดอยู่ในภาษา คำเดิมก็อาจค่อยๆสูญไป หรืออาจใช้ในความหมายที่ต่างจากเดิม หรือบางครั้งมีการใช้คำที่ทับศัพท์ที่ผิดเพี้ยนไป เช่น Chill Chill –ความหมายประมาณว่า Sit chill chill ซึ่งในภาษาอังกฤษจะไม่มีการให้ความหมายในคำดังกล่าว แต่คำว่า Selfy ที่เรามักใช้ในการถ่ายรูปโฟกัสหน้าตนเอง เป็นศัพท์ที่ถูกต้องตามหลักภาษาแต่เป็นคำที่กำเนิดมาจากคำว่า Self

 ปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือ การเรียนภาษาของเด็ก เด็กเรียนภาษาจากบุคคลทั้งหลายที่ได้อยู่ใกล้ชิด เมื่อเด็กได้ฟังคำพูด ได้ฟังภาษาของบุคคลเหล่านั้น ก็ปรุงขึ้นเป็นภาษาของตนเอง เราจะสังเกตเห็นว่าภาษาของเด็กไม่เหมือนภาษาของผู้ใหญ่ เด็กอาจเข้าใจความหมายของคำ การออกเสียงคำ และใช้คำไม่ตรงกับผู้ใหญ่ แต่ก็อาจเป็นได้ว่า ภาษาของเด็กไม่ตรงกับผู้ใหญ่ทีเดียว เมื่อเด็กคนนั้นใช้ภาษาที่เคยใช้นั้นต่อไป ภาษาก็อาจเปลี่ยนไปได้ เช่น คำ หนู เคยเป็นภาษาของเด็กๆ ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวเอง เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงใช้คำนี้อยู่ การเปลี่ยนแปลงของภาษาดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องเกิดแก่ภาษาทุกภาษา แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ควรปล่อยให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปจนก่อให้เกิดผลเสียแก่การสื่อสาร
และปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงอีกประเด็นสำคัญคือ สิ่งแรกคือการสะกดคำในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การสะกดตามมาตรฐานเดิม กล่าวคือตัวสะกดบางตัวหายไป แต่ยังสามารถออกเสียงได้เหมือนเดิม มีการนำตัวเลขเข้ามาผสมในคำเพื่อให้ออกเสียงได้เหมือนคำเดิม และการสะกดคำใหม่ ตัวสะกดบางตัวหายไปแล้วยังออกเสียงไม่เหมือนเดิม สองมีการเชื่อมคำเข้าด้วยกัน (Word combination) สร้างอักษรย่อใหม่ขี้นที่รู้กันเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ สี่เกิดสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ที่เรียกว่า Emoticons จะใช้ตัวอักษร ห้ามีการใส่เครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายบางประการ หกมีการใส่คำแทนเสียงหรือเลียนเสียง(Onomatopoeic) เช่น เสียงหัวเราะ hahahaha เสียงสงสัย huh? เสียงตกใจว่าทำอะไรผิด oops!
ข้อเจ็ดคือ ศัพท์เฉพาะนอกจากภาษาไทยจะมีศัพท์เฉพาะในการใช้อินเตอร์เน็ต แปด มีการสะกดผิดเหมือน เบย ที่สะกดผิดมาจากคำว่า เลย ในภาษาอังกฤษคือคำว่า Teh. จากคำว่า The เก้า ถ้าใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมดแปลว่าต้องการเน้นย้ำ หรือพวกตวาดเสียงดัง เช่น “STOP IT” และสุดท้ายคือ คำสแลงที่พบบ่อยในอินเตอร์เน็ต และสามารถสรุปได้ว่าภาษาอังกฤษเข้ามาในไทย ในราชกาลที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งมีชาวมาลายูช่วยคนไทยในการแปลภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา และการเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมภาษาดังเดิมของไทยซึ่งสลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมเด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมไทย
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรตระหนักและออกแบบบทเรียนเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้จริง และให้นักเรียนได้ฝึกจากสถานการณ์จริง ในด้านการสอนออกเสียงภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากลว่าจริงอยู่ผู้เรียนควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่เข้าใจได้มากกว่าการออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษา แต่ความรู้เบื้องต้นทางสัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology ) ยังคงมีความสำคัญสำหรับผู้สอนเพราะผู้สอนสามารถช่วยแก้ไขการออกเสียงที่ผิดพลาดของผู้เรียนได้ เช่น /th/=thanks /r /เป็น /l/=turn right- turn light และการอ่านเสียงท้าย six-sick จุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ในการเรียนหนังสือ คือการฟังและการอ่าน
วิทยากรจึงชักชวนให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกการอ่านจากประโยคดังนี้ คือ ประโยคแรก The thirty-three thieves thought that they thrilled the throne throughout Thursday. ประโยคที่สอง I saw Susie sitting in a shoe shine shop. Where she sits she shines, and where she shines she sits. และอีกหนึ่งประโยค I wish to wish the wish you wish to wish, but if you wish the wish the witch wishes, I won’t wish the wish you wish to wish จะเห็นได้ว่าทั้งสามประโยคข้างต้น มีการอ่านออกเสียงท้ายที่ต่างกันซึ่งคล้ายคลึงกันมาก หากเราฝึกอ่านไม่ถูกต้อง จะทำให้ความหมายในประโยคผิดเพี้ยนไปด้วย ในการฝึกอ่านประโยคครั้งนี้ ดิฉันได้ฝึกครั้งแรกอ่านผิดเพี้ยนทุกประโยค แต่เมื่อเราหมั่นฝึกหลายๆรอบจะทำให้เรารู้สึกคุ้นชินและออกเสียงตามจังหวะของคำ พร้อมทั้งอ่านเสียงที่ลงท้ายได้อย่างถูกต้องและชัดเจน และวิทยากรมีกลยุทธิ์ในการชักชวนคือการให้รางวัลหนังสือสำหรับผู้ที่ออกไปอ่านประโยคดังกล่าว
สำหรับการเรียนรู้ Phonology ก็เป็นเนื้อหาสำคัญที่ครูภาษาอังกฤษควรคำนึงถึง คือการเน้นเสียง (stress) การออกเสียงเน้นหนักในคำ คือ การเน้นเสียงหนักในพยางค์หนึ่งของคำโดยที่ผู้พูดจะออกเสียงพยางค์นั้นดังกว่าพยางค์อื่น ๆในคำเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็นการเน้นเสียงระดับคำ word stress และการเน้นเสียงระดับประโยค sentence stress รวมถึง Intonation ทำนองเสียง และการหยุด pause เช่น PHOtograph  ,photography , photographic , PENcil , comMITtee ,volunTEER ,MARyland ,soClety ,information เป็นต้น จะสังเกตเห็นคำดังกล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่คำนามมักจะ stress ที่พยางค์แรก คำสองพยางค์ที่เป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ถ้าเป็นคำนามลงเสียงเน้นหนักที่พยางค์แรกของคำถ้าเป็นคำกริยาลงเสียงเน้นหนักที่พยางค์หลังของคำคำนามคำกริยา

ดังนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนในการเข้าอบรมในวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงภาคบ่าย โดย  ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อ แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นปฎิสัมพันธ์ ทำให้ดิฉันได้ทราบและเข้าใจถึงปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง และได้รับความรู้มากมาย ทั้งความรู้เบื้องต้นทางสัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology ) ซึ่งการฝึกฝนผ่านคำต่างๆ และประโยคที่หลากหลายจากที่วิทยากรได้เสนอแนะมา ทำให้ดิฉันได้มีการฝึกฝนทั้งการอ่าน การฟัง การพูด รวมทั้งการเขียน ซึ่งสะท้อนออกมาอย่างไม่น่าเบื่อหน่าย อีกทั้งยังมีเกมส์ที่สามารถทำให้เราได้รู้จักคิด วิเคราะห์ในช่วงระยะเวลาที่กระชั้นชิดมาก และได้ทบทวนเนื้อหาหลากหลาย ดิฉันคิดว่าความรู้ที่ดิฉันได้รับดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนต่อไปอย่างแน่นอนเพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้