Learning
Log 7
ในห้องเรียน
การศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้
2 ประเด็นคือ การทดสอบคำศัพท์(vocabulary) และประเภทของ
If-Clauses ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย
และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
สิ่งแรกที่ควรศึกษาคือการเรียนรู้คำศัพท์อาจจะเริ่มกับคำง่ายๆที่เจอบ่อยๆ
แล้วค่อยเรียนรู้คำที่ยากขึ้น เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยค
หากผู้พูดไม่รู้คำศัพท์และความหมายก็จะไม่สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้
และการแปลจึงมีความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารประโยคภาษาอังกฤษ
โดยเริ่มจากประเด็นแรกคือการทดสอบคำศัพท์(vocabulary)
การทดสอบคำศัพท์จาก www.vocabularysize.com
โดยการให้เลือกความหมายของคำศัพท์ที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
จากตัวเลือก 4 ตัวเลือก และอีกตัวเลือกคือ ตัวเลือกในกรณีที่ไม่ทราบคำศัพท์
ทั้งหมดมีจำนวน 100 ข้อ
ทำให้ดิฉันทราบว่าความรู้ในด้านคำศัพท์ของดิฉันอยู่ในระดับที่อ่อน
แม้ว่าบางคำจะเป็นคำง่ายๆ เช่น jug ,pup,drill เป็นต้น
บางคำเป็นคำยากที่ไม่เคยรู้จัก เช่นoctopus, reconnoiter, canonical เป็นต้น แต่มีหลายคำที่ดิฉันก็ไม่ทราบความหมายที่ชัดเจนและไม่มีความมั่นใจในความหมายของคำศัพท์นั้นมากพอที่จะเลือกคำตอบได้
เมื่อทำการทดสอบเสร็จทางเว็บไซต์จะให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับคำศัพท์ให้ศึกษาโดยมีหัวข้อว่า “
You know at least 6,600 English word families! ” และอธิบายประเด็น
4 หัวข้อ คือ What do my results mean?, What is a
word family? , Where are the answers? และ How can I
improve my vocabulary?
ข้อที่หนึ่ง คือ What
do my results mean? คือ
ความสามารถทางภาษามีความสัมพันธ์กับจำนวนของคำศัพท์ ดังนั้น
ถ้ารู้คำศัพท์มากก็สามารถเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ถ้าจะกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้นั้น การวิจัยของ Paul Nation ในปี ค.ศ.2006
ชี้ให้เห็นว่าจำนวนของคำศัพท์ดังต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ คือ ในทักษะการอ่าน
ควรจะรู้ประมาณ 8,000-9,000 คำ , ทักษะการฟัง
ประมาณ 6,000-7,000 คำ และเจ้าของภาษา ประมาณ 20,000 คำ ส่วนในข้อที่สองคือ What is a word family? จะมีความเกี่ยวข้องกันในทางไวยากรณ์และในทางความหมาย ในทางไวยากรณ์ คือ คำนาม (Noun) คำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มีความเกี่ยวข้องกันในทางไวยากรณ์หรืออาจจะเป็นคำที่มีอยู่เดิมแล้ว
เช่น cat, love, black, fast หรืออาจจะเป็นคำที่เกิดจากการเติมส่วนประกอบเข้าไปข้างหน้าหรือข้างหลังคำจนเกิดเป็นคำใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม,
คำกริยา, คำคุณศัพท์, หรือคำกริยาวิเศษณ์ขึ้นมานั้นคือ
Prefix และ Suffix
สำหรับในข้อที่สาม คือ Where
are the answers? คือ
การทดสอบจำนวนคำศัพท์ในภาษาอังกฤษถูกออกแบบมาเพื่อประเมินจำนวนของคำศัพท์ที่รู้และไม่รู้ในแต่ละคำ
ในการทดสอบคำศัพท์ทั้งหมด 100
คำนั้นเป็นเพียงการเรียนรู้คำศัพท์เพียงคำเดียวจากการทดสอบ ซึ่งไม่สามารถเพิ่มจำนวนของคำศัพท์จาก
100 คำได้จริง ดังนั้น
อาจไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความหมายของคำที่เฉพาะเจาะจงที่พบในการทดสอบ
แต่ควรจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนคำศัพท์มากกว่า และข้อที่สี่ คือ How can I improve my vocabulary? คือ คำแนะนำที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการพัฒนาคำศัพท์
ปกติจะอ่านมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ขณะที่จะช่วยให้รู้คำศัพท์มากกว่าที่รู้อยู่แล้ว
เป็นไปได้น้อยที่จะประสบกับคำใหม่โดยบังเอิญ
เมื่อได้อ่านและเป็นการท้าทายตนเองกับสื่อที่อ่านยาก
เมื่อเจอคำใหม่ก็ยังไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าจะอ่านอีกครั้งโดยบังเอิญ
ดังนั้น การทดสอบคำศัพท์จึงสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ของแต่ละคนว่าอยู่ในระดับใด
อ่อน ดี หรือดีมาก และควรได้รับการพัฒนาต่อไป
เพราะคำศัพท์ในเว็บไซต์ดังกล่าวมีทั้งคำศัพท์ที่เริ่มจากคำง่ายมาก
นำไปสู่คำยาก หรือคำศัพท์ทางวิทยาศาตร์ที่ไม่ค่อยพบเห็นจึงทำให้เกิดการลังเลและไม่มั่นใจในการตัดสินใจเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
และสำหรับการทดสอบครั้งดิฉันคิดว่าในการเลือกตอบ
ควรเลือกตอบในข้อที่มั่นใจว่าเราทราบจริงๆ
และส่วนข้อที่ไม่มั่นใจก็ควรเลือกตัวเลือกว่า ไม่ทราบ
ดีกว่าการคาดเดาคำตอบเพราะเราจะได้ทราบผลลัพธ์ความรู้ของตนเองที่เป็นจริง ไม่ใช่เพียงการคาดเดา
และอีกประเด็น คือเรื่อง If
- Clause คือ
ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น if-clause และส่วนที่เป็น main
clause ใช้เพื่อแสดงว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
ก็จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา โดยทั่วไปประโยคในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบที่ 1 คือ If + present
tense verb, will/may/can + V. : ประโยคเงื่อนไขในอนาคต , แบบที่ 2 คือ If + past tense verb,
would/might/could + V. : ประโยคสมมุติในปัจจุบัน และแบบที่ 3 คือ If + past perfect tense verb, would have + V-ed : ประโยคสมมุติในอดีต
จากประโยคเงื่อนไข (conditional
sentence) ทั้ง 3
ประเภทสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ แบบที่ 1 คือ If
+ present tense verb, will/may/can + V. : ประโยคเงื่อนไขในอนาคต
เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นจริง
(ยังมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต) เช่น If your documents are in order, you
may/can leave at once. , If Clause แบบที่ 2
คือ If + past tense verb, would/might/could + V. : ประโยคสมมุติในปัจจุบัน
เป็นประโยคสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับเหตุการณ์จริงในปัจจุบัน เช่น If
there were no police car in front of us, I wouldn’t be driving so slowly right
now. , และ If Clause แบบที่ 3 คือ If + past perfect tense verb, would have + V-ed : ประโยคสมมุติในอดีต
เป็นประโยคสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต เช่น If I had
studies a little harder, I would have done well on yesterday’s test.
ในการแปลประโยคเงื่อนไขในภาษาไทย
ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์ความหมายของประโยคให้ดีว่าเป็นเงื่อนไขแบบใด
และเลือกใช้รูปแบบในภาษาอังกฤษให้เหมาะสม เช่น If you fly economy
class to the US with our airline this month, you will get a special 30%
discount. (ถ้าคุณบินชั้นประหยัดไปยังสหรัฐอเมริกากับสายการบินของเราในเดือนนี้คุณจะได้รับส่วนลดพิเศษ
30%), If Bangkok had a better public transportation system, the traffic
problem would not be this critical. (ถ้ากรุงเทพมหานครมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี
ปัญหาจราจรก็คงไม่วิกฤตเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้) และ If it had not been
for the selfishness of owner of the Royal Plaza Hotel, hundreds of people would
not have been killed and injured.(ถ้าไม่ใช่เพราะความเห็นแก่ตัวของเจ้าของโรงแรมรอยัลพลาซ่า
คนนับร้อยคงไม่ต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บ)
ดังนั้นการศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้
ดิฉันได้รับความรู้ทั้ง 2 ประเด็น
คือการศึกษาคำศัพท์โดยการทดสอบความรู้ผ่านเว็บไซต์ และการเรียนประเภทของ If-Clauses
ซึ่งทั้งสองประเด็นก็มีความเกี่ยวโยงความสำคัญกัน
เพราะถ้าหากเรายังไม่มีความแม่นยำในคำศัพท์ เราก็จะไม่สามารถแต่งประโยค If-Clauses
ได้ถูกต้อง
รวมทั้งไม่สามารถแปลความหมายคำศัพท์และประโยคได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งนำไปสู่การแปลประโยคเงื่อนไขในภาษาไทยเพื่อสามารถวิเคราะห์ความหมายของประโยคว่าเป็นประโยคเงื่อนไขแบบใด
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น