Learning log 7
นอกห้องเรียน
การศึกษานอกห้องเรียนครั้งนี้
ดิฉันได้ศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ 1 ด้าน คือทักษะการเขียน (Writing
skill) การเขียนคือ
การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร
มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน
การเขียนจึงเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญในการเขียนประโยคเพื่อสื่อสารให้แก่ผู้อื่น
การเลือกสรรคำที่เหมาะสมในการแต่งประโยคเพื่อให้ถูกต้องตามโครงสร้างหลักไวยากรณ์
ในฐานะที่ดิฉันได้เลือกเรียนคณะครุศาสตร์ ภาษาอังกฤษ นั่นคือวิชาชีพครูเพื่อนำไปสู่การสอนที่ดี
ที่ถูกต้องในอนาคต
จึงต้องคำนึงว่าครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร
ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)
เทคนิค การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing), การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) และการเขียนแบบอิสระ
( Free Writing) แนวทางที่หนึ่งคือ การเขียนแบบควบคุม (Controlled
Writing)เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ
เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค
โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน
ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ แนวทางที่สองคือ
การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง
และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้
ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ
แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้
ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น
อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป
แนวทางสุดท้ายคือ การเขียนแบบอิสระ ( Free
Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด
ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด
จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ
สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้
ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่
ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ
โครงสร้างประโยคหลักไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้
ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นกระบวนการสอนทักษะการเขียน
จึงจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้
ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระได้ในที่สุด
จึงจะทำให้งานเขียนนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
เทคนิคการสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ (Writing Skill) จึงเป็นแรงบัลดาลใจให้ดิฉันได้ฝึกเขียนไดอารี่ในชีวิตประจำวัน
โดยใช้ Present Simple sentence ดิฉันเริ่มฝึกเขียนประโยคง่ายๆธรรมดา
เช่นประโยค I get up at seven
o'clock. I brush my teeth and I take a shower. After that I wear on my uniform.
Next I have breakfast and I prepare my textbook. I go to university at 8 o'clock on weekend. I study English. And
I have lunch at twelve o'clock. Finish I go dormitory. Every day I have dinner with my roommate in
evening. I watch television and chat with my friends on facebook or social.
Then I do my homework. I go to bed at
midnight. แล้วจึงฝึกเขียนในระดับที่ยากยิ่งขึ้นคือการบรรยายธรรมชาติ
เพื่อน และเหตุการณ์ที่เราเจอในกิจวัตรประจำวันหรือการเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ประทับใจในอดีต
และการฝึกเขียน essay โดยเริ่มจากการวาง outline ก่อน ดิฉันจึงเลือกเขียนเรื่อง
สิ่งที่ฉันประทับใจที่สุดในวัยเด็กเป็นการบรรยายเหตุการณ์โดยประเด็นหลัก Topic
Sentence คือ การชนะการแข่งขันเต้นแอโรบิคระดับจังหวัด และจะมี Supporting
sentences รวมทั้ง Introduction
หรือบทนำ
เป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกว่าเรียงความนี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไร
มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก และBody หรือเนื้อความ
เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้
โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความซึ่งจะบรรยายในช่วงแรกคือ
การได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียนไปแข่งขันเต้นอโรบิคในโครงการทู บี
นัมเบอร์ วัน ระดับจังหวัด และการซ้อมเต้นแอโรบิคในโรงเรียนหลังเลิกเรียนทุกๆวัน
และกล่าวถึงความยากง่ายในการฝึก ลักษณะต่างๆที่ครูสอนฝึก และสุดท้ายคือ Conclusion เป็นการสรุป โดยมีเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body คือการเต้นแอโรบิคไม่เพียงแต่จะทำให้ฉันรู้สึกมีความมั่นใจขึ้นแต่ยังทำให้สุขภาพดีอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกเขียนกิจวัตรประจำวันหรือการเขียนเรียงความฉบับสมบูรณ์
มันจะเป็นสิ่งที่ง่ายมากสำหรับบางคนที่คุ้นชินและเก่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
แต่ดิฉันคิดว่ามันไม่ง่ายเลยที่เราจะสามารถเขียนเนื้อหา
รายละเอียดให้ตรงกับความหมายที่ถูกต้องตามภาษาไทย สำหรับการเขียน essay นั้น การเล่าเรื่องจะต้องมีความน่าสนใจและชวนให้น่าติดตาม
อีกทั้งความมั่นใจในการเขียนนั้นจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงเรื่องที่เราจะต้องการเล่าออกไป
การเขียนในเชิง Active นั้น
จะทำให้เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจกว่าการเขียนในแบบ Passive Voice เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
แม้ว่าการเขียนจะยากแต่ถ้าเราฝึกบ่อยๆสม่ำเสมอเราก็จะคุ้นชินกับประโยคนั้นๆ
และนอกจากนี้สิ่งที่ได้อีกอย่างคือ คำศัพท์ (vocabulary) เราจะได้เรียนรู้คำศัพท์และสามารถบันทึกหรือจดจำคำศัพท์ที่ใช้บ่อยได้อีกด้วย
ดังนั้นการศึกษานอกห้องเรียนในครั้งนี้
ดิฉันได้ศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน (Writing Skill)ดิฉันคิดว่าทักษะการเขียนนับเป็นทักษะที่ยากที่สุดในทักษะทั้งสี่
และจัดเป็นทักษะสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
แต่ทักษะการเขียนก็เป็นทักษะที่จะช่วยฝึกและพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ให้สื่อออกมาในรูปแบบของการเขียน การเขียนเป็นการส่งสารประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับการพูด
แต่จะสื่อออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และฝึกฝนเพื่อนำไปสู่การเรียนวิชาการแปล
นอกจากนี้การเขียนยังช่วยบ่งบอกถึงระดับความสามารถและศักยภาพระดับความรู้ของผู้เรียนว่ามีความรู้อยู่ในระดับไหน
ฉะนั้นผู้สอนควรจะสอนทั้งกระบวนการ เทคนิค
วิธีการในการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น