วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
       ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษา ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชนสามารถทำความเข้าใจกันได้ งานแปลจึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผู้แปลจึงต้องมีการตีความถ้อยคำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความหมายใกล้เคียงกันและเลือกใช้คำที่เหมาะสม เพื่อให้งานแปลสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้อง
การแปลในประเทศไทย
        การแปลในภาษาไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส มีการติดต่อค้าขายและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
        การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย มีบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางกันได้อย่างสะดวก จนทำให้ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้น
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภาษาวิบัติ  เนื่องจากในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ธุรกิจการพานิช จึงต้องมีกลุ่มนักแปลที่มีความรู้ในสาขานั้นเพื่อพัฒนาภาษาให้เหมาะสมและเข้าใจได้ทันที
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
        เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เนื่องจากนักเรียนขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่แปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดี โดยได้รับการฝึกในเรื่องไวยากรณ์แลโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
       การแปล คือ การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบสมบูรณ์ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆ
คุณสมบัติของผู้แปล
1.             เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล และหมั่นค้นคว้าเพิ่มเติม
2.             เป็นผู้ที่ชอบค้นหาความรู้ในวิชาแขนงอื่นๆ
3.             เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานทางด้านไวยากรณ์และโครงสร้างภาษา
4.             เป็นผู้ที่มีใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.             เป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ และระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำและภาษา
6.             เป็นผู้ที่มีความอดทนและเสียสละทางด้านเวลา
วัตถุประสงค์ของการแปล
1.             เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปเป็นนักแปลอาชีพในด้านต่างๆในสังคม
2.             เพื่อการสอนแปลให้ได้ผล ทั้งทักษะในการอ่านและการเขียน
3.             เพื่อให้ผู้สอนแปลหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
4.             เพื่อให้ผู้เรียนแปลได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
ลักษณะงานแปลที่ดี
1.             ความหมายถูกต้อง ละครบถ้วนตามต้นฉบับ (equivalence in meaning) 
2.              รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกับต้นฉบับ (equivalence in style)
3.             สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา  (register)
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.                  ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ เหมาะสมครอบคลุมความหมายได้หมด
2.                  สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนนของภาษาเป็นสำคัญ
3.                  ใช้ในการแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
      การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาของตนการให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1.  การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.  การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ ดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
         ความใกล้เคียง (context)  และความคิดรวบยอด (Concept) ไม่ใช่การแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ ความหมายของปริบทของข้อความจะเป็นรูปนามธรรม จึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพ และสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
    สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1.              องค์ประกอบของความหมาย
เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารความหมาย ภาษาและภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย คือ
1.1      คำศัพท์  จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมายความของคำจะเปลี่ยนปลงไปตามบริบท
1.2      ไวยากรณ์  แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
1.3      เสียง  ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
2.              ความหมายและรูปแบบ
มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
1.1      ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบเช่น ในรูปประโยคที่ต่างกัน หรือใช้คำที่ต่างกัน
1.2      รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมาย มี 4 ประเภท ดังนี้
1. ความหมายอ้างอิง (referential meaning) คือ ความหมายที่อ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล ( Connotatative meaning) คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง อาจเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
3. ความหมายตามปริบท (Conlextual meaning) คือ ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) คือ เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และการเปรียบโดยนัย ผู้แปลต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบ ออกเป็น 3 ส่วน คือ
              1. สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ (topic)
2. สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration)
3. ประเด็นของการเปรียบเทียบ (point of similarity)
การเลือกแปล
        เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหา
เรื่องที่แปล

        เรื่องที่เลือกแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกมาแปลสาขาใด จะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย ดังนั้นการแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขานั้นๆ เพื่อการเลือกหนังสือที่จะแปลได้อย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานน้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S BY ป.4

         น้ำยาล้างมือ Hand Soap 4S สูตรว่านหางจระเข้